Thursday, 26 April 2012

งาน ASA 55

โครงการงานสถาปนิก ’55 
“ก้อนน้ำ : WATER BRICK”
ในระหว่างวันที่ 24 – 29เมษายน 2555 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1-2 ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค เมืองทองธานี 
·         ความเป็นมา
สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้จัดงานเพื่อเผยแพร่วิชาชีพสถาปัตยกรรมมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2529 โดยใช้ชื่องานว่า “ สถาปนิก ’29” และได้จัดเป็นประจำทุกปี (ยกเว้นปีพุทธศักราช 2533) จนถึงปัจจุบัน ได้จัดไปแล้ว 24 ครั้ง สำหรับปีพุทธศักราช 2554 นี้ คณะกรรมการบริหารสมาคมฯปีพุทธศักราช2553-2555 มีมติเห็นชอบในการจัดงานสถาปนิก ’55 ซึ่งเป็นครั้งที่ 26 ขึ้นในวันอังคารที่ 24-29 เมษายน  2555 ณ อาคารชาเลนเจอร์ ศูนย์แสดงสินค้าอิมแพ็ค   เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
·         วัตถุประสงค์
1.   เผยแพร่และเสริมสร้างความรู้ในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมสาขาต่างๆ
2.   เสริมสร้างความร่วมมือร่วมใจและความเข้าใจอันดีระหว่างสถาปนิก นิสิตนักศึกษา รวมทั้งมวลสมาชิกใน
      วิชาชีพเดียวกันและวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
3.   เผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิชาการ วิชาชีพ รวมทั้งการแสดงสินค้า วัสดุ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการออกแบบ ก่อสร้าง ตกแต่งและบำรุงรักษาอาคารสถานที่
4.   เผยแพร่ผลงานของสถาปนิก นิสิตนักศึกษา รวมทั้งผลงานสถาปัตยกรรมดีเด่นประจำปี 2554
5.   สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้างกับสถาปนิก วิศวกร มัณฑนากรและผู้เกี่ยวข้องในวิชาชีพ
6.   จัดสัมมนาเชิงวิชาการและวิชาชีพสถาปัตยกรรมในแง่มุมต่างๆ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นของสถาปนิก ผู้ประกอบการ และผู้เชี่ยวชาญในสาขางานที่เกี่ยวข้อง
        
·         แนวความคิดในการจัดงาน
“Water brick; ก้อนน้ำ”
เราคงคุ้นเคยกับคำพูดที่ว่า“ชาวไทยใช้ชีวิตอยู่กับกับน้ำมาตั้งแต่ในอดีต” แต่ถ้าถามคนไทยที่เดินตามถนนทั่วไปว่าเรามีความเข้าใจเกี่ยวกับน้ำขนาดไหน คำตอบเศร้าๆก็คือ“ผิว เผิน” เราบริโภคข่าวน้ำแล้งสลับกับน้ำท่วมรายเดือนจากรายการเล่าข่าวยามเช้าจนชา ชินเกินไปรึเปล่า จนลืมตั้งคำถามว่าอะไรคือต้นเหตุของปัญหาเหล่านั้นแล้วโยนความผิดให้กับ“(ภัย)ธรรมชาติ”
กับ วิถีชีวิตของเราที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตอย่างมากประกอบกับอิทธิพลจากการ เปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราที่ส่งผลกระทบกับเรามากขึ้นทุกวัน น่าจะถึงเวลาแล้วที่เราจะร่วมกันพยายามทำความเข้าใจให้ถึงแก่นของ“น้ำ”ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิติของเรามาก ขึ้น ให้เข้าใจว่าทำไมภัยแล้งสุดขีดขนาดที่ชาวบ้านต้องเอาปี๊ปมาขอรับน้ำจากส่วน กลางจึงเกิดขึ้นหลังจากอุทกภัยที่เพิ่งผ่านไปแค่2เดือน ให้เข้าใจว่าก้อนน้ำที่ทยอยไหลท่วมจังหวัดต่างๆของเรานั้นมันก้อนใหญ่ขนาด ไหนและเราะช่วยกันหาอะไรมาใส่มัน และอีกมาก
สถาปนิก... ตื่นได้แล้ว 
สถาปนิก...ใน ฐานะผู้สร้างและวางแผนสิ่งต่างๆที่อยู่แวดล้อมตัวเราจึงควรเป็นกลุ่มคนกลุ่ม แรกๆในสังคมที่ตระหนักถึงความสำคัญของการทำความเข้าใจ“น้ำ” เรามีภาระที่หนักอึ้งและเร่งด่วนในการหาสาเหตุของปัญหาของน้ำที่ส่งผลกระทบ กับสังคมของเราในวงกว้าง และวาดภาพของวิถีการอยู่ร่วมกับน้ำของปัจจุบันและในอนาคตให้สังคมได้รู้ หยุดการช่วยเหลือผู้คนที่ปลายเหตุด้วยการแจกถุงยังชีพ แต่มาช่วยกันแก้ปัญหานี้ที่ต้นเหตุกันเถอะ 
กิจกรรมภายในงาน   อาทิ
1. นิทรรศการ “Water Brick; ก้อนน้ำ”
นำเสนอข้อมูลเชิงลึกทางด้านสถาปัตยกรรม การออกแบบและผังเมืองเพื่อพยายามทำความเข้าใจแต่ละมิติของ“ปริมาตรน้ำ อย่างจริงจังและหนักแน่นผ่านเนื้อหา ทั้ง 7หัวข้อนิทรรศการ ดังนี้
1.1 นิทรรศการ หัวข้อเรียนรู้จากเมื่อวาน; Learning from YESTERDAYS
            แสดง ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานของคนไทยกับแหล่งน้ำธรรมชาติในอดีตตั้งแต่ สุโขทัย อยุธยา จนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ และวิเคราะห์ถึงโมเดลต่างๆของชุมชนที่ใช้ชีวิติอยู่กับน้ำในอดีตเช่น เรือนแพ อย่างเป็นระบบ เพื่อแสดงความสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจกับสถาปัตยกรรม ผังเมือง และ น้ำ อย่างเฉพาะเจาะจง 
1.2. นิทรรศการ หัวข้อน้ำกับเมือง; Architecture and Cities
            แสดงแนวคิดที่ แตกต่างในการจัดการกับน้ำของประเทศไทยทั้งที่เคยเปิดเผยต่อสาธารณะและไม่เคย ตั้งแต่การออกแบบเมือง ระบบถนน ระบบระบายน้ำ และระบบน้ำเพื่อการเกษตร ครอบคลุมแนวคิดทั้งจากนักวิชาการ หน่วยงานราชการ นักออกแบบ หรือ นักการเมือง เช่น โครงการอุโมงค์ยักษ์ของกทม. โครงการWater grid โครงการถมทะเลบริเวณอ่าวไทยเป็นต้น
1.3นิทรรศการ หัวข้ออย่างนี้พี่เค้าก็อยู่กันได้; Thailand’s settlement with water
แสดง รูปแบบสถาปัตยกรรมและการตั้งถิ่นฐานแบบท้องถิ่นในประเทศไทยที่ต้องพึ่งพาน้ำ อย่างมีสาระสำคัญ และเป็นรูปแบบที่สถาปัตยกรรมในปัจจุบันและในอนาคตสามารถใช้เรียนรู้เป็นแบบ อย่างได้ เช่น ชุมชนเกาะปันหยี ตลาดสองฤดูที่ตำบลบางลี่ ชุมชนคลองดำเนินสะดวก
1.4 นิทรรศการ หัวข้อในหลวงกับ“น้ำ”; Our King and water
  รวมรวมโครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เกี่ยวกับการ จัดการน้ำทั้งขนาดเล็กและใหญ่เพื่อจัดแสดงเปรียบเทียบอย่างเป็นระบบและ เข้าใจง่าย เพื่อให้สังคมเกิดความเข้าใจทั้งในภาพรวมและเชิงลึกเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ใน เรื่องน้ำที่สร้างประโยชน์แก่พสกนิกรของพระองค์อย่างเป็นที่สุด
1.5 นิทรรศการ หัวข้อที่อื่นเค้าทำกันยังไง; Global case studies on Architecture with water
  แสดงตัวอย่างโครงการด้านสถาปัตยกรรม ชลประทาน และการออกแบบผังเมืองต่างๆในโลกที่ให้ความสำคัญกับสถานการณ์ของน้ำที่ เปลี่ยนแปลงไปในโลกปัจจุบัน เช่น เมืองIjburgในเนเธอร์แลนด์ เมืองVeniceในอิตาลี เมืองLondonในอังกฤษ
1.6 นิทรรศการ หัวข้ออยู่อย่างนี้ก็ได้; 6 Water cities
   แสดงให้สังคมตระหนักว่าสถาปัตยกรรมมีศักยภาพในการสร้างสรรค์การเป็นอยู่ด้วย วิถีใหม่ที่สร้างที่แตกต่างจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน โดยด้วยความร่วมมือของสถานิกไทยรุ่นใหม่6กลุ่มเสนอแนวคิดของการตั้งถิ่นฐาน แบบใหม่บนเมืองที่น้ำท่วม/แล้งซ้ำซาก ได้แก่ น่าน นครสวรรค์ อยุธยา กรุงเทพมหานคร หาดใหญ่ นครราชสีมา 
1.7 นิทรรศการ หัวข้อ น้ำกับวันพรุ่งนี้; Visionary water architecture
            สร้างจินตนาการและส่งเสริมการหาทางออกสำหรับการอยู่อาศัยกับสถานการณ์น้ำที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน โดยการจัดประกวดแนวคิดภายใต้หัวข้อ “ F-L-U-D” ”ทางด้านสถาปัตยกรรมในอนาคตที่มีการคำนึงถึงเรื่องน้ำเป็นเรื่องสำคัญ
2.นิทรรศการ ย่านกะดีจีน
3.นิทรรศการ ประกวดแบบหอคอยเมืองสงขลา
4.นิทรรศการ ประกวดแบบ ลานเฉลิมพรเกียรติฯ
6.นิทรรศการ ผลงานสำนักงานสถาปนิกและสถาปนิกอิสระ
นิทรรศการ ประจำปีเผยแพร่ผลงานต่างๆ โดยสำนักงานสถาปนิกที่เป็นสมาชิกของสมาคม โดยในแต่ละปี บริษัทที่ร่วมแสดงผลงานจะทำการออกแบบบูธ และ นำเสนอผลงานต่อสาธารณชนในรูปแบบที่หลากหลายชวนติดตาม
 
7.นิทรรศการผลงาน สถาบันการศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
นิทรรศการ ประจำปีเผยแพร่ผลงานต่างๆ ของสถาบันการศึกษาด้านสถาปัตยกรรม ซึ่งนอกเหนือจากการแสดงผลงานด้านวิชาการต่างๆ ที่ได้ดำเนินการระหว่างปีการศึกษาแล้ว งานสถาปนิก ยังเป็นนิทรรศการที่นิสิตนักศึกษาแต่ละสถาบันต่างรอคอยที่จะได้รวมใจแสดงออก ซึ่งพลังสามัคคีและพลังความคิดสร้างสรรค์ ต่อวงการวิชาชีพและสาธารณชน อาทิ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล รัตนโกสินทร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์นนทบุรี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
มหาวิทยาลัยนเรศวร
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยรังสิต
มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร
มหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล
มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญฯ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง
สถาบันอาศรมศิลป์
 
 
8.งานสัมมนาวิชาการ
         ASA FORUM 2011  เริ่มลงทะเบียน ระบบออนไลน์ วันที่ 23 มีนาคม นี้
        ASA LOCAL FORUM
                        กิจกรรมสัมมนา / เสวนาที่สมาคมฯ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในวิชาชีพ แบ่งปันแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความคิดเห็นระหว่างมวลสมาชิกและวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การบริการสมาชิกสมาคมฯ และภาคประชาชน
      ASA CLUB       พื้นที่ Meeting Point และจุดพักผ่อนของชาว ASA อย่างแท้จริง
      ASA SHOP      พื้นที่ จำหน่ายหนังสือและของที่ระลึกสมาคมฯ
      ASA BOOK SHOP พื้นที่จำหน่ายหนังสือจากสถาบันการศึกษา          
      สถาปนิกอาษา    กิจกรรมที่ได้รับความนิยมต่อเนื่องอย่างสูงในทุกๆ ปี โดยกลุ่มสถาปนิกผู้เชี่ยวชาญ ที่อาสาบริการให้คำปรึกษาแก่ประชาชนทั่วไป ตอบสารพันปัญหาในเรื่องการ ก่อสร้างบ้านและอาคารต่างๆตลอดระยะเวลางาน สถาปนิก ’55

งานสถาปนิก '55 WATERBRICK